วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

บทที่5


รจนาเสี่ยงพวงมาลัย" 

" เมื่อเอยเมื่อนั้น เจ้าเงาะแสนกลคนขยัน
พิศโฉมพระธิดาวิลาวัณย์ ผุดผาดผิวพรรณดังดวงเดือน
งามละม่อมพร้อมสิ้นทั้งอินทรีย์ นางในธรณีไม่มีเหมือน
แสร้งทำแลเลี่ยงเบี่ยงเบือน ให้ฟั่นเฟือนเตือนจิตคิดปอง
พระจึงตั้งสัตย์อธิษฐาน แม้นบุญญาธิการเคยสมสอง
ขอให้ทรามสงวนนวลน้อง เห็นรูปพี่เป็นทองต้องใจรัก

เมื่อเอยเมื่อนั้น รจนานารีมีศักดิ์
เทพไทอุปถัมภ์นำชัก นงลักษณ์ดูเงาะเจาะจง
นางเห็นรูปสุวรรณอยู่ชั้นใน รูปเงาะสวมไว้ให้คนหลง
ใครใครไม่เห็นรูปทรง พระเป็นทองทั้งองค์อร่ามตา
ชะรอยบุญเราไซร้จึงได้เห็น ต่อจะเป็นคู่ครองกระมังหนา
คิดพลางนางเสี่ยงพวงมาลา แม้นว่าเคยสมภิรมย์รัก
ขอให้พวงมาลัยนี้ไปต้อง เจ้าเงาะรูปทองจงประจักษ์
เสี่ยงแล้วโฉมยงนงลักษณ์ ผินพักตร์ทิ้งพวงมาลัยไป "

บทที่4

ท้าวยศวิมล

ท้าวยศวิมล” มีมเหสีชื่อ”นางจันท์เทวี” มีสนมเอกชื่อ “นางจันทาเทวี” …พระองค์ไม่มีโอรสธิดาจึงบวงสรวงและรักษาศีลห้าเพื่อขอบุตร …และประกาศแก่พระมเหสีและนางสนมว่าถ้าใครมีโอรสก็จะมอบเมืองให้ครอง
อยู่มานางจันท์เทวีทรงครรภ์ เทวบุตรจุติมา เป็นพระโอรสของนาง แต่ประสูติมาเป็น”หอยสังข์” …นางจันทาเทวีเกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อนางจันทาเทวี จึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวีและหอยสังข์ไปจากเมือง …นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยตายายช่าวไร่ ช่วยงานตายายเป็นเวลา 5 ปี พระโอรสในหอยสังข์แอบออกมาช่วยทำงาน เช่น หุงหาอาหาร ไล่ไก่ไม่ให้จิกข้าว เมื่อนางจันท์เทวีทราบก็ทุบหอยสังข์เสีย
ในเวลาต่อมา พระนางจันทาเทวีได้ไปว่าจ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ช่วยทำเสน่ห์เพื่อที่ท้าวยศวิมลจะได้หลงอยู่ในมนต์สะกด และได้ยุยงให้ท้าวยศวิมลไปจับตัวพระสังข์มาประหาร ท้าวยศวิมลจึงมีบัญชาให้จับตัวพระสังข์มาถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์(พญานาค) ราชาแห่งเมืองบาดาลก็มาช่วยไว้ และนำไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ก่อนจะส่งให้นางพันธุรัตเลี้ยงดูต่อไปจนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปีบริบูรณ์

บทที่3

นางพันธุรัต

นางพันธุรัตเป็นยักษ์ ได้รับพระสังข์มาเป็นบุตรบุญธรรมโดยนางและบริวารแปลงร่างเป็นมนุษย์ วันหนึ่งพระสังข์ได้เข้าไปในเขตหวงห้าม จึงรู้ว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ก็คิดหลบหนี พระสังข์ได้เข้า ไปในเขตหวงห้ามลงไปชุบตัวในบ่อทองเอาชุดเจ้าเงาะและของวิเศษเหาะหนี นางพันธุรัตกลับมา ไม่พบพระสังข์ก็ออกตาม นางพยายามอ้อนวอนให้พระสังข์กลับ แต่ไม่เป็นผลนางพันธุรัตเสียใจ จนอกแตกตาย ตามตำนานเมืองเพชร พอนางพันธุรัตตายพระสังข์ก็ได้จัดการทำศพและร่างของ นางก็ได้กลายเป็นภูเขา ซึ่งถ้ามองดี ๆ ก็จะคล้ายผู้หญิงนอน ชาวบ้านจึงได้เรียกภูเขาลูกนี้ว่า "เขานางนอน หรือเขานางพันธุรัต"สืบต่อมาจนเท่าทุกวันนี้
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 แท่งหินซึ่งเรียกว่า "โกศนางพันธุรัต"ได้เกิดพังทลายลงมารวม เนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ เนื่องมาจากช่วงเวลานั้นฝนได้ตกลงมาหนักเป็นเวลาต่อเนื่อง วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งผ่านเทือกเขา เจ้าลายใหญ่ (เขานางพันธุรัต) มีพระราชดำรัสถามถึงรายละเอียดการระเบิดหิน และพระองค์ได้มีรับสั่งว่า "ใครเป็นเจ้าของการระเบิดภูเขา จะขอให้ยกเลิก การระเบิดได้ไหมอยากรักษาโกศนางพันธุรัตไว้
เมื่อปี 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถมีพระราชกระแสรับสั่ง "ให้อนุรักษ์พื้นที่บริเวณเขานางพันธุรัตไว้เป็นมรดกของชาติเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงตำนานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับนางพันธุรัตในวรรณคดีไทยเรื่อง สังข์ทอง ซึ่งเป็นวรรณกรรมอันทรงคุณค่ายิ่งต่อประเทศไทย

บทที่2

นางจามเทวี
ชาติกำเนิดของพระองค์นั้น ในตำนานจามเทวีวงศ์และตำนานมูลศาสนากล่าวว่าเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้ แต่ตำนานมุขปาฐะพื้นบ้านแห่งหนึ่งกล่าวว่า พระองค์เป็นธิดาของคหบดีชาวหริภุญชัยซึ่งมีเชื้อสายชาวเมง (ตำนานเรียกว่า เมงคบุตร) อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน พระนางจามเทวีเมื่อแรกประสูติไว้ว่าตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ. 1176 เวลาจวนจะค่ำ ขณะเมื่อพระนางยังมีพระชนม์ได้ 3 เดือนนั้น มีนกยักษ์ตัวหนึ่งโฉบเอาพระนางขึ้นไปบนฟ้า เมื่อนกนั้นบินผ่านหน้าสุเทวฤๅซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ ณ เขาอุจฉุตบรรพต (แปลว่าเขาไร่อ้อย เชื่อว่าคือดอยสุเทพในปัจจุบัน) ท่านจึงได้แผ่เมตตาจิตให้นกนั้นปล่อยทารกน้อยลงมา แล้วรับเอาเด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรม พร้อมทั้งตั้งชื่อให้ว่า นางวี ด้วยถือเอานิมิตที่พระฤๅษีใช้พัด (ภาษาถิ่นเรียกว่า "วี") รองรับพระนางเนื่องจากพระฤๅษีอยู่ในสมณเพศ ไม่อาจถูกตัวสตรีได้ ต่อมาพระนางได้ร่ำเรียนสรรพวิชาการต่างๆ จากสุเทวฤๅษี
ท่านสุเทวฤๅษีจึงได้ผูกดวงและตรวจสอบชะตา ทราบว่ากุมารีผู้เป็นบุตรบุญธรรมของท่านจะมีวาสนาเป็นถึงจอมกษัตริย์ ปกครองบ้านเมืองอันใหญ่โตซึ่งจะรุ่งเรืองไปในภายภาคหน้า จึงตกลงใจว่าจะต้องส่งเด็กหญิงไปสู่ราชสำนักเพื่อรับการอภิเษกขึ้นเป็นเชื้อพระวงศ์ให้สมควรแก่การที่จะได้เป็นใหญ่ต่อไป และที่เหมาะสมในสายตาท่านฤๅษีคือ ราชสำนักแห่งกรุงละโว้ ซึ่งเป็นราชสำนักที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในสุวรรณภูมิเวลานั้น

บทที่1


สังข์ทอง


 ณ เมืองยศวิมลนคร อันมีท้าวยศวิมลเป็นเจ้าเมือง พระมเหสีจันเทวีได้คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ จึงถูกพระนางจันทา มเหสีรอง ใส่ร้ายว่าเป็นกาลีบ้านเมือง จนถูกขับออกจากเมืองไปอยู่กระท่อมตายายที่ชายป่า จนกระทั่งพระสังข์ที่ซ่อนอยู่ในหอย ได้ออกมาพบแม่ สร้างความยินดีกับพระนางจันเทวีมาก

          ข่าวล่วงรู้ไปถึงนางจันทา จึงได้ส่งคนมาจับพระสังข์ไปถ่วงน้ำ แต่ท้าวภุชงค์พญานาคราชช่วยเอาไว้ และส่งให้ไปอยู่กับ นางพันธุรัต พระสังข์รู้ว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์จึงขโมยรูปเงาะ ไม้เท้า เกือกแก้ว เหาะหนีมาอยู่บนเขา นางพันธุรัตตามมาทันแต่ ไม่สามารถขึ้นไปหาพระสังข์ได้ จึงได้มอบมนต์มหาจินดา เรียกเนื้อเรียกปลาให้แก่พระสังข์ก่อนที่จะอกแตกสิ้นใจตายที่เชิงเขา นั่นเอง

          พระสังข์เหาะมาจนถึงเมืองสามล ท้าวสามลและนางมณฑากำลังจัดพิธีเลือกคู่ให้ธิดาทั้งเจ็ด แต่รจนาพระธิดาองค์สุดท้อง ไม่ยอมเลือกใครเป็นคู่ ท้าวสามลจึงให้คนไปตามเจ้าเงาะมาให้เลือก รจนาเห็นรูปทองที่ซ่อนอยู่ในรูปเงาะจึงเสี่ยงมาลัยไปให้ สร้างความพิโรธให้ท้าวสามาลจึงถึงกับขับไล่รจนาให้ไปอยู่กระท่อมปลายนากับเจ้าเงาะ

          ท้าวสามลหาทางแกล้งเจ้าเงาะ โดยการให้ไปหาเนื้อหาปลาแข่งกับเขยทั้งหก เจ้าเงาะให้มนต์ที่นางพันธุรัตให้ไว้เรียกเนื้อ เรียกปลามารวมกันทำให้หกเขยหาปลาไม่ได้ จึงต้องยอมตัดปลายหูและปลายจมูกแลกกับเนื้อและปลา

          ท้าวสามลพิโรธมากจนถึงกับคิดหาทางประหารเจ้าเงาะ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องหาทางช่วยโดยการลงมาท้าตีคลีชิงเมือง กับท้าวสามล ท้าวสามลส่งหกเขยไปสู้ก็สู้ไม่ได้ จึงต้องยอมให้เจ้าเงาะไปสู้แทน เจ้าเงาะถอดรูปเป็นพระสังข์และสู้กับพระอินทร์ จนชนะ ท้าวสามลจึงยอมรับพระสังข์กลับเข้าเมืองและจัดพิธีอภิเษกให้

         พระอินทร์ไปเข้าฝันท้าวยศวิมล เพื่อบอกเรื่องราวทั้งหมด ท้าวยศวิมลจึงออกตามหาพระนางจันเทวีจนพบ และได้เดินทาน ไปเมืองสามลนครเพื่อพบพระสังข์ โดยพระนางจันเทวีได้ปลอมเป็นแม่ครัวในวังและได้แกะสลักเรื่องราวทั้งหมดบนชิ้นฟัก ให้พระสังข์เสวย ทำให้พระสังข์รู้ว่าแม่ครัวคือพระมารดานั่นเอง พระสังข์และรจนาจึงได้เสด็จตามท้าวยศวิมลและพระนาง จันเทวีกลับไปครองเมืองยศวิมลสืบไป